วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการทำงานของครู

Title
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1


Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Classification :.DDC: 153.1534
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับมาก
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ฉะเชิงเทรา
Email: wanchalee@rru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรีกษา
Date
Created: 2548
Modified: 2550-02-01
Issued: 2550-02-01
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 974-9684-91-5
Source
CallNumber: Th 153.1534 ส231ค
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
RightsAccess:
__________________________________________________________________________________

Title
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานกับความสำเร็จในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร
Title Alternative
A Study of the relationship between work achievement motivation and administrative achievement of primary school adminisrtators under the office of provincial primary education sakon nakhon


Classification :.DDC: 371.26
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานกับความสำเร็จในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร จำนวน 233 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-Stage Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
Publisher
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: สกลนคร
Role: กรรมการควบคุม
Role: กรรมการควบคุม
Date
Issued: 2544
Created: 2548-09-13
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: วจ 371.26 ส45ก
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
RightsAccess:

__________________________________________________________________________________

Title
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานี


Classification :.DDC: 371.1 น784ค
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานีและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 280 คน ได้มาโดยวิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูป Krejcie and Morgan เทียบหาสัดส่วนขนาดกลุ่มตัวอย่างกับประชากรทั้งหมด จำนวน 996 คน เป็นรายอำเภอ เทียบหาอัตราส่วนและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ตามแบบของ Likert จำนวน 158 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานซึ่งเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานี และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานีมีสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง 2. ครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานีมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของคุรุสภา พุทธศักราช 2540 อยู่ในระดับสูง 3. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานี มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purposes of this study were to study the job performance motivation and the relationship between the job motivation and the efficiency of the job performance of the pre-school teachers at the pre-school centers in temples in Ubon Ratchathani Province. The sample group consisted of 280 teachers, selected by means of the simple random sampling. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan Table from the proportion of the whole population of 996 teachers to the number of teachers from each district. The research instrument was a 158-item questionnaire with a five-level Likert scale, which yielded the reliability value of .96. the data were analyzed using percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson moment Product Correlation Coefficient. The findings can be summarized as follows: 1. The teachers were found to have motivation for job performance at a high level. 2. The job performance of the teachers, based on the criterion of the Teacher Council Teaching Profession Standards, B.E 2540, was found to be at high level of efficiency. 3. There was significant relationship, at the level of .01, between the motivation for job performance and the efficiency of the job performance.
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุบลราชธานี
Email: info.lib@ubru.ac.th
Date
Created: 2549
Modified: 2007-09-17
Issued: 2550-08-22
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 9747789922
Language
tha
Coverage
Spatial: ไทย
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
RightsAccess:
__________________________________________________________________________________

Title
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 (จังหวัดอุบลราชธานี)
Title Alternative
The Relationship between Job Motivation and Job Morale of Personnel of the Office of Government Budget Auditing Region 5 Ubon Ratchathani Province

Classification :.DDC: 658.314 ช491ค
Description
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 จำนวน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้การยอมรับนับถือ ด้านโอกาส ความก้าวหน้า ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านการปฏิบัติงานมีความโปร่งใสและเป็นธรรม ด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และด้านความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพการสมรส ตำแหน่ง และระยะเวลาการรับราชการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชากรข้าราชการที่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 จำนวน 84 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบตัวเลือกและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเท่ากับ .97 และขวัญในการปฏิบัติงานเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด จำนวน 84 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.7 อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 37-45 ปี ร้อยละ 39.3 ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 85.7 มีรายได้อัตราเงินเดือนส่วนใหญ่ระหว่าง 20,001-30,000 บาท มากที่สุด ร้อยละ 47.6 สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 53.60 ระดับตำแหน่ง มีระดับตำแหน่งระหว่าง 6-7 มากที่สุด ร้อยละ 51.20 และอายุการรับราชการ ส่วนใหญ่ได้รับราชการมาแล้วระหว่าง 11-20 ปี ร้อยละ 45.20 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านลักษณะงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้การยอมรับนับถือ ด้านความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน ด้านการปฏิบัติงานมีความโปร่งใสและเป็นธรรม ด้านโอกาสความก้าวหน้า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล สำหรับขวัญในการปฏิบัติงานในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากเช่นกัน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับขวัญในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์กันในทางปฏิฐานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านลักษณะงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างที่จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพการสมรส ตำแหน่ง และระยะเวลาการรับราชการ พบว่า บุคลากรที่มีความเห็นต่างกัน มีแรงจูงใจและขวัญไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับการศึกษา บุคลากรที่มีความเห็น ด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านขวัญในการปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุบลราชธานี
Email: info.lib@ubru.ac.th
Date
Created: 2552
Modified: 2553-08-30
Issued: 2553-06-08
Issued: 2553-06-08
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
RightsAccess:

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันในองค์กรของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

หัวข้อการศึกษาค้นคว้าอิสระ          ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพัน  ในองค์กรของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

นักศึกษา                                            นรากร งาคชสาร
รหัสนักศึกษา                                     5415320446276
ปริญญา                                             บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชา                                           บริหารธุรกิจ
ปีการศึกษา                                       2556
อาจารย์ที่ปรึกษา                              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เบ็ญจาภา สุทธะพินทุ


                                                                         บทคัดย่อ            
                 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันในองค์กรของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 178 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน โดยเรียงล าดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนตามลำดับ2) แรงจูงใจในการด้านปัจจัยจูงใจของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่าอยูในระดับมากจำนวน  5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือและด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามลำดับ
 3) แรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยค้ำจุนของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยรวมอยูในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยูในระดับมากจำนวน  4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านนโยบาย และการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในหน่วยงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานตามลำดับ ส่วนด้านด้านรายได้และสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง4) ความผูกพันในองค์กรของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนคราชสีมา โดยภาพรวมอยูในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยูในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านบรรทัดและด้านการคงอยู่ตามลำดับ 5) แรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพ ันธ์กับความผูกพ ันในองค์กร โดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางบวกอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01  โดยแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยจูงใจมีความผูกพันในองค์กรที่ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.477และแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยค้ำจุนมีความผูกพันในองค์กร ที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ  0.667

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผลงานของนางสาวโชติกา หอมหุน

นางสาวโชติกา  หอมหุน
นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา (MED.3)  
มหาวิทยาลัยธนบุรี  เลขที่22

สถานที่ทำงาน :
โรงเรียนวัดมหาวงษ์ 
55/1 หมู่7 ตำบลสำโรงกลาง 
อำเภอพระประแดง  จังหวัดสมุทรปราการ 10130
โทร 094-5693514

------วันที่12พฤษภาคม 2561------


ระบบสารสนเทศในโรงเรียน

ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center)           ระบบ DMC เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลนักเรี...